ReadyPlanet.com
dot
dot

dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot


twitter
YouTube
กรมที่ดิน
กรมโยธาธิการและผังเมือง
สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ไทย
Google
Pantipmarket


ตกแต่งบ้าน หาซื้อบ้านมือสอง ขายบ้าน ขายที่ดิน หาซื้อที่ดิน ลงทุนที่ดิน ลงทุนอสังหาริมทรัพย์

 ครบเครื่องเรื่องบ้านและที่ดิน



ซื้อบ้านมือสอง อย่างไรให้คุ้ม article

 ซื้อบ้านมือสอง อย่างไรให้คุ้ม

 

       ขึ้นชื่อว่า "มือสอง" ก็คือ ของที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว ผ่านมือคนอื่นมาแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าคาดหวังว่า "อะไรๆ" จะเป็นอย่างที่หวัง แต่สำหรับ "บ้านมือสอง" กลับเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ฝันอยากจะมี "บ้าน" เป็นของตัวเองสักหลัง โดยเฉพาะคนที่มีกำลังซื้อจำกัด แต่ต้องการอยู่ในทำเลที่คนซื้อบ้านใหม่ต้องอิจฉา

        เพราะ "บ้านมือสอง" กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆบางพื้นที่ลูกค้าไม่มีโอกาสที่จะเห็นบ้าน ขณะที่ราคาบ้านมือสองถูกกว่าบ้านใหม่ เพราะผู้ขายส่วนใหญ่จะถูกกดดันเป็นพิเศษและรุนแรง เช่น กำลังจะถูกฟ้องบังคับจำนองหรือต้องการย้ายที่อยู่ใหม่

       แต่ก่อนจะตัดสินใจเลือกจะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดและพิถีพิถันสักหน่อย และต้องท่องคาถา "ตาดีได้ ตาร้ายเสีย" ไว้ให้ขึ้นใจ ถ้าเลือกอย่างดี จะได้บ้านคุณภาพดีราคาสมเหตุสมผล แต่ถ้าไม่รอบคอบพอ อาจจะต้องมานั่งน้ำตาตกในภายหลัง ช่องทางมองหาบ้านมือสองที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีอยู่ 4 แหล่งใหญ่ๆ ที่จะมีข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวังแตกต่างกันไปคือ

 

 1. การซื้อกับเจ้าของโดยตรง

 

       การซื้อกับเจ้าของโดยตรง ดูจะเป็นวิธีดั้งเดิมและง่ายที่สุดในการเจรจาซื้อขาย โดยเฉพาะการต่อรองราคา ทั้งยังมั่นใจไดว่า ผู้ซื้อจะได้เข้าพักอาศัยโดยไม่ต้อง "อาศัยอำนาจศาล" เพื่อขับไล่เจ้าของเดิม แต่อย่างน้อยผู้
ซื้อควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า ความเต็มจขายของเจ้าของเดิมจะไม่ได้มาจากปัญหาที่เกิดจากตัวบ้านจนต้องยอมขาย

       นิติกรรมสัญญา เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมากที่สุด เพราะทั้งสองฝ่ายจะต้องดำเนินการเรื่องสัญญาเองทั้งหมด ซึ่งในบางกรณีหากไม่มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต โดยอาจขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญจะสะดวกและสบายใจมากขึ้นทั้งยังต้องตกลงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจนว่า ใครจะเป็นคนจ่ายในส่วนไหน อย่างไรบ้าง และหากผู้ขายต้องการให้ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ ผู้ซื้ออาจขอลดราคาบ้านลงได้อีก

 

2. การซื้อผ่านนายหน้า

 

       การซื้อผ่านนายหน้า นอกจากมีบ้านให้เลือกจำนวนมาก แบ่งแยกตามพื้นที่ ราคา ไว้ได้ตรงใจผู้ซื้อ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามากนัก และเชื่อได้ระดับหนึ่งว่า บ้านมือสองที่อยู่ในมือของบริษัทเหล่านี้จะได้รับการคัดสรรและกรองมาระดับหนึ่งแล้ว และ "ตัวแทน" จะเป็นคนดำเนินเรื่องเกือบทุกอย่างให้ ตั้งแต่พาไปดูบ้านที่เลือกไว้ เจรจาราคา จัดการสัญญา เงินกู้ธนาคาร แต่ต้องมีค่านายหน้า ประมาณ 3% ของ ราคาขาย ซึ่งปกติผู้ขายจะเป็นคนจ่าย แต่ในขั้นตอนการทำสัญญาต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า เรากำลังทำสัญญาแลวางเงินมัดจำกับ "เจ้าของบ้านตัวจริง" หรือไม่ เพราะฉะนั้นอย่าลืมขอดูบัตรประชาชนและชื่อหลังโฉนดก่อนจะตกลงปลงใจ

 

3. สินทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงิน

 

       สินทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงิน เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะนอกจากจะมีบ้านให้เลือกจำนวนมากและราคาต่ำกว่าราคาตลาดแล้ว การขอสินเชื่อยังจะสะดวกและดอกเบี้ยอาจต่ำกว่าการซื้อบ้านจากแหล่งอื่นๆ เนื่องจากธนาคารเจ้าของทรัพย์สินจะให้สินเชื่อเอง และบางแห่งจะยกเว้นค่าธรรมเนียมหรืออำนวยความสะดวกอื่นๆ แต่ต้องยอมรับว่า บ้านมือสอง ที่อยู่ในมือสถาบันการเงินบางหลังอาจจะชำรุดทรุดโทรมกว่าบ้านในมือของบริษัทนายหน้าหรือบ้านที่เจ้าของขายเอง

       
เพราะฉะนั้นเพื่อให้แน่ใจว่า นอกจากจะได้ดอกเบี้ยพิเศษแล้วจะไม่มีลูกบ้านคนพิเศษมาอยู่ในชายคาเดียวกัน ก็ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีใครยังอยู่ในบ้านหลังนั้น หรือถ้ายังมีคนอยู่ควรให้ธนาคารจัดการให้เรียบร้อยก่อนที่จะตกมาถึงมือเรา และถ้าให้มั่นใจที่สุดจะต้องให้ธนาคารมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดให้เรียบร้อยเสียก่อน จะได้ไม่ต้องเสียเวลา "ฟ้องขับไล่" ในภายหลัง

 

4. ประมูลจากกรมบังคับคดี

 

       ประมูลจากกรมบังคับคดี มีขั้นตอนและกระบวนการมาก แต่จะมีราคาเป็นตัวจูงใจ เพราะราคาเริ่มต้นจากการประมูลนี้อาจต่ำกว่าราคาตลาดได้ถึง 50% แต่ก่อนที่จะเข้าร่วมประมูลจะต้องไปดูบ้านและประเมินราคาที่พร้อมจะสู้ไว้ล่วงหน้า จะได้ไม่ถูก "ใคร" กระตุ้นให้สู้ราคาจนเกินกำลังเงินและเกินมูลค่าบ้าน และที่ต้องระวังที่สุด คือ การฟ้องขับไล่ แม้ว่าจะอาศัยอำนาจศาลให้ผู้บุกรุกออกจากบ้านได้ทันที แต่ก็ไม่รู้ว่า จะใช้เวลานานแค่ไหนที่ "ผู้บุกรุก" จะยอมออกจากบ้านไปและอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ คือ "การฟ้องคัดค้านราคา" ซึ่งตามกระบวนการทางกฎหมายจะให้สิทธิลูกหนี้คัดค้านราคาได้ครั้งหนึ่ง

       
ในกรณีที่เป็นการประมูลของเอกชน ก่อนเข้าร่วมประมูลยังต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้ประมูลเป็น "เจ้าของทรัพย์" หรือมีสิทธิขายทรัพย์ ฉะนั้น เพื่อให้ได้ของดี ราคาถูก ก็คงต้องยอมเหนื่อยกว่าปกติ

       
แต่ไม่ว่าจะพบบ้านในดวงใจจากแหล่งใดก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจเป็นเจ้าของบ้านสักหลัง จะต้องถามตัวเองและครอบครัวก่อนว่า ต้องการจะอยู่ "บริเวณ" ไหน ซึ่งเราสามารถหาบ้านในใจกลางเมืองหรือในบริเวณที่ต้องการได้ในราคาที่ไม่สูงเกินไป เมื่อเลือกบริเวณที่ต้องการได้แล้ว สิ่งต่อไปคือ "ทำเลที่ตั้งและสภาพแวดล้อม" ที่ต้องระวังคือ "แนวเวนคืน" เพราะเจ้าของเดิมอาจยอมขายราคาถูก เพราะไปรู้มาว่า บริเวณนั้นจะถูกเวนคืน เพื่อการป้องกันต้องตรวจสอบไปที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโยธาธิการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สำนักงานเขตหรือกรมที่ดิน และเพื่อนบ้าน

 


       
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับขั้นตอนการเลือกบ้านมือสอง คือ "สภาพบ้าน" เพราะมีการอยู่อาศัยมาแล้ว ทำให้สภาพบ้านอาจเสื่อมโทรมไปบ้าง โดยเฉพาะบ้านที่ผ่านกระบวนการบังคับคดีที่ใช้เวลานาน แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ "โครงสร้าง" จะยังแข็งแรงอยู่หรือไม่เพราะหากมีการต่อเติมที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการอาจสร้างปัญหาได้ในอนาคต

       
ดังนั้น หากคุณไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็ควรจะหาผู้ที่มีความรู้ด้านนี้ไปช่วยเลือกบ้านด้วย เพื่อตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและใช้ในการประเมินราคาบ้าน และที่สำคัญคือ สาธารณูปโภคพื้นฐานภายในบ้าน ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ต้องซ่อมแซมมากน้อยเพียงใด เพราะนอกจากจะต้องเตรียมเงินสดหรือขอสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมแล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญมากในขั้นตอน "การต่อรองราคา"

       
ดังนั้น "ราคาสมเหตุสมผล" น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
เมื่อได้บ้านมือสองที่ "สภาพถูกตา ราคาถูกใจ" แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การทำสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาเป็นที่ปรึกษา แต่หากใช้สัญญามาตรฐานของกรมที่ดิน หรือขอความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ก็น่าจะช่วยแบ่งเบาภาระนี้ได้ส่วนหนึ่ง

       
แต่ก่อนที่จะลงมือทำสัญญาจะต้องสำรวจกำลังเงินที่จะใช้ "วางมัดจำ" ให้พร้อมเสียก่อน เพราะการซื้อบ้านมือสองจะต้องมีเงินสดจำนวนหนึ่งมาวางมัดจำ หรือจ่ายส่วนจ่างที่ธนาคารไม่ให้สินเชื่อเต็ม 100% ของราคาบ้าน ขณะที่บ้านใหม่ยังสามารถ "ผ่อนดาวน์" ได้ เพราะฉะนั้น จำนวนเงินที่ต้องเตรียมจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการกู้และวงเงินที่ธนาคารให้กู้ส่วนหนึ่งด้วย

       
ขณะที่การประมูลจากกรมบังคับคดีจะต้องเตรียมเงินสด จำนวน 50,000 บาท (ใน กทม.) และ 40,000 บาท (ในต่างจังหวัด) เพื่อใช้เป็นเงินมัดจำในการประมูลและเมื่อประมูลได้แล้วต้องวางเงินมัดจำ 25% ของราคาทรัพย์ รวมเงินวางประกันในวันนั้น ที่เหลืออีก 75% ชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย

       
ส่วนการซื้อผ่านนายหน้าต้องเตรียมเงินวางมัดจำประมาณ 10% ของราคาบ้านในวันทำสัญญา แต่สามารถเจรจาต่อรองได้

       
ปัญหาต่อไปคือ "เงินกู้" เพราะน้อยคนนักที่จะมีเงินออมมากพอที่จะซื้อบ้านมือสองด้วยเงินสด แต่จะเบาแรงได้หน่อยสำหรับคนที่ซื้อบ้านจากพอร์ตสินทรัพย์รอการขายจากสถาบันการเงิน เพราะบางแห่งจะให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ โดยเฉพาะในปีแรกๆทั้งยังยกเว้นค่าธรรมเนียม ค่าประเมิน หรืออื่นๆเพื่อจูงใจลูกค้า

       
ปัจจัยที่ธนาคารนำมาพิจารณาในการขอสินเชื่อจะไม่ต่างจากสินเชื่อบ้านใหม่นัก ไม่ว่าจะเป็น รายได้ ความสามารถในการผ่อน อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อน ประเภทของหลักทรัพย์ค้ำประกัน คือ บ้านหรือทาวน์-เฮ้าส์ที่ซื้อ และเงินดาวน์หรือเงินวางมัดจำ

       
จากการทดลองใช้เครื่องคำนวณสินเชื่อที่สถาบันการเงินเปิดให้บริการในเว็บไซด์จะได้ตัวเลขที่แตกต่างกัน เช่น มีรายได้ประจำ 20,000 บาท ที่อัตราดอกเบี้ย 6.75%

       
เครื่องคำนวณของธนาคารกรุงเทพจะให้กู้เงินได้ประมาณ 1 ล้านบาท และผ่อนชำระเดือนละ 8,000 บาท หรือประมาณ 40% ของรายได้ เป็นเวลา 20 ปี โดยจะซื้อบ้านในราคา 1.5 ล้านบาท แต่จะต้องมีเงินดาวน์ประมาณ 30% ของราคาบ้าน เพื่อแสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีความสามารถในการออม

       
ขณะที่เครื่องคำนวณของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ให้ซื้อบ้านในราคา 625,000 บาท และกู้เงินได้ 500,000 บาท ผ่อน 30 ปี เดือนละ 5,200 บาท หากวงเงินที่ได้ไม่พอซื้อ ธนาคารจะแนะนำให้หาคนกู้ร่วมหรือลดขนาดบ้านลง

       
ส่วนผู้ที่ประมูลซื้อจากกรมบังคับคดีจะสามารถขอสินเชื่อได้จากสถาบันการเงินที่ร่วมมือกับกรมบังคับคดี ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนชาต ทิสโก้ ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย ทหารไทย กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กรุงเทพ เกียรตินาคิน เอไอไอ และยูโอบีรัตนสิน ที่จะทำให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น และจะง่ายขั้นถ้าขอกู้กับธนาคารที่บังคับคดี

       
แต่ไม่ว่าจะกู้จากสถาบันการเงินใดก็ตาม อย่าลืมประเมินศักยภาพในการผ่อนชำระของตัวเองเสียก่อน เพราะต้องผ่อนไปอย่างน้อย 20-30 ปี ไม่เช่นนั้น "บ้านมือสอง" ที่เราซื้อกันได้ จะต้องกลายไปเป็น "บ้านมือสาม" ของคนอื่นไป

       
และแล้วก็มาถึงขั้นตอนสุดท้าย นั่นคือ การโอนกรรมสิทธิที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเตรียมเอกสาร คำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (..1) 1 ฉบับ หนังสือสัญญาขายที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง (..13) 3 ฉบับ บันทึกการประเมินราคาประเมินราคาทรัพย์สิน (..86) 1 ฉบับ บันทึกถ้อยคำการชำระภาษีอากร (..16) 2 ฉบับ และในกรณีที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ (..40) 2 ฉบับ

       
และต้องเตรียมเงินสดไปด้วย เพราะในแต่ละขั้นตอนจะมีค่าใช้จ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขายแล้วแต่การตกลงของทั้งคู่ คือ ค่าธรรมเนียมการโอนในกรณีที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอื่นจะจ่าย 2% ของราคาประเมิน นอกจากนี้ยังมีค่าจำนองอีก 0.01% ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายที่สูงกว่า สำหรับการขายที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบุคคลธรรมดาที่ถือครองเกินกว่า 5 ปี หรือขายห้องชุดที่ถือครองเกินกว่า 5 ปี หรือที่ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของห้องชุดตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป หรือค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ อัตรา 0.11% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายที่สูงกว่า สำหรับกรณีการซื้อบ้านจากนิติบุคคล

       
ค่าภาษีหัก ที่จ่าย สำหรับบุคคลธรรมดาจะคิดในอัตราก้าวหน้าจากราคาประเมินของกรมที่ดิน และกรณีนิติบุคคลจะต้องชำระ 1% ของราคาประเมินหรือราคาซื้อขายในราคาที่สูงกว่า
แม้ว่า การเป็นเจ้าของ "บ้านมือสอง" สักหลังจะดูยุ่งยาก วุ่นวายและต้องใช้ความรอบคอบเป็นพิเศษ แต่ทันทีที่เรามีบ้านเป็นของตัวเองด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราเอง และเป็นบ้านที่จะไม่สร้างปัญหาให้เราในภายหน้า ถึงมันจะไม่ใช่บ้านใหม่เหมือนในฝัน แต่เท่านี้ก็ทำให้หายเหนื่อยนอนหลับอย่างสบายใจใน "บ้าน" ของเรา

       
แม้ว่า การเป็นเจ้าของ "บ้านมือสอง" สักหลังจะดูยุ่งยาก วุ่นวายและต้องใช้ความรอบคอบเป็นพิเศษ แต่ทันทีที่เรามีบ้านเป็นของตัวเองด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราเอง และเป็นบ้านที่จะไม่สร้างปัญหาให้เราในภายหน้า ถึงมันจะไม่ใช่บ้านใหม่เหมือนในฝัน แต่เท่านี้ก็ทำให้หายเหนื่อยนอนหลับอย่างสบายใจใน "บ้าน" ของเรา

 

แหล่งที่มา www.homedd.com

 
ทำอย่างไรเมื่อบ้านคุณยังขายไม่ได้สักที article

 ทำอย่างไรเมื่อบ้านคุณยังขายไม่ได้สักที

 

ยิ่งนานวัน บ้านที่คุณยังขายไม่ได้ โอกาสของคุณก็สูญเสียมากขึ้น เท่านั้น วิธีการหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้คุณอาจจะต้องตัดสินใจ ทำดังต่อไปนี้ 

 

 ยอมรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น

  

       ถ้าคุณขายบ้าน ผ่านบริษัท ตัวแทนนายหน้า คุณควรจะถาม นายหน้าเหล่านั้น ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าคืออะไร และยอมรับฟังคำแนะนำ จากตัวแทนขายว่า ต้องปรับปรุงอะไรบ้าง ลูกค้าที่สนใจบ้าง มีความเห็นอย่างไรบ้าง เนื่องจาก นายหน้าจะมีข้อมูล ที่ชัดเจนกว่า ถ้าทำเลเป็นปัจจัย หลักที่ลูกค้าไม่เลือกซื้อ คุณอาจจะต้อง ปรับราคาบ้านลดลง แต่ถ้า ลูกค้าไม่พอใจ ในตัวบ้าน คุณอาจจะต้อง นำปัญหาเหล่านั้น มาปรับปรุง เพื่อให้บ้านคุณ ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การทาสีบ้าน

 

 การลดราคา

 

       การลดราคา เป็นข้อที่สำคัญที่สุด ราคาที่คุณตั้งอาจจะต้อง มีการปรับลดลง คุณอาจจะ เริ่มจากการลดราคา ขายลงประมาณ 10% ซึ่งน่าจะเป็นสัญญาณ ที่ดีสำหรับลูกค้า หรือ แม้กระทั้งนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ถ้าคุณปรับราคาลง แล้วยังไม่มีการ ตอบรับจากลูกค้า ภายในเดือนถึงเดือนครึ่ง คุณอาจจะต้องปรับลด ราคาอีกครั้ง

 

 เปลี่ยนบริษัทตัวแทนขายบ้าน

  

       กรณีที่คุณ ใช้บริการ จากบริษัทนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ หรือ ตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์ มาเป็นเวลานานพอควร แล้วยังไม่มีการซื้อขาย เกิดขึ้น คุณควรเปลี่ยนลอง ใช้บริษัทอื่นดูบ้าง นอกจากคุณจะได้เปรียบเทียบ ประสิทธิภาพของการทำงาน ในแต่ละบริษัทแล้ว บริษัทเหล่านี้ มีความชำนาญ ในพื้นที่และ วิธีการขายที่แตกต่างกัน 

 

 ยกเลิกการขายบ้าน


        
ถ้าคุณไม่รีบร้อนที่จะขาย คุณควรหยุดขายไว้ชั่วคราว ดีกว่าจะให้ บ้านคุณไม่เหลือราคา ในตลาดอีกเลย และอาจจะลองพิจารณา ปล่อยให้เช่าดู

 
ทำอย่างไรให้บ้านของคุณเป็นที่น่าสนใจ article

ทำอย่างไรให้บ้านของคุณเป็นที่น่าสนใจ

 

       ไม่ว่าคุณจะขายบ้านได้แล้ว หรือยังขายไม่ได้ เมื่อลูกค้าที่ซื้อบ้านอยากจะมาเยี่ยมชมบ้านของคุณ การทำให้บ้านของคุณเป็นที่น่าสนใจ และน่าดึงดูดนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยากค่ะ เพียงแต่ คุณต้องใช้เวลากับการทำให้สภาพของบ้านคุณดูน่าอยู่ทั้งภายในและ ภายนอกบ้าน

 

 การเพิ่มเสน่ห์ให้กับภายนอกบ้านคุณอาจทำได้โดย

 

1. ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนหลังคาบ้านที่ชำรุด

2. ซ่อมแซมสีของตัวบ้านให้ดูเรียบร้อยสวยงาม

3. ตรวจสอบประตูหน้าต่างว่ามีสีหลุดลอกหรือไม่ ตรวจสอบว่ากริ่งประตูยังทำงานอยู่

4. ทำความสะอาดท่อน้ำ ระบบระบายน้ำ

5. ดูแลสวนสนามหญ้า และต้นไม้ให้เรียบร้อยสวยงาม

6. ตรวจสอบบันได ทางเดิน กำแพง และระเบียงว่ามีรอยแตกร้าวหรือไม่

 การตกแต่งภายในบ้าน

1. ทำความสะอาดห้องทุกห้องภายในบ้าน เก็บของใช้ที่ไม่จำเป็นรวมถึงการกำจัดพวกสิ่งที่กีดขวาง เพียงเท่านี้บ้านคุณก็จะดูใหญ่ขึ้นและสว่างขึ้น

2. กรณีถ้าจำเป็นควรทาสีภายในบ้านที่ดูเก่าให้ดูสว่างขึ้น สีกำแพงควรจะเป็นสีที่ดูเป็นธรรมชาติ เช่น สีขาว หรือ สีครีม โทนสีเดียวกันนี้คุณสามารถใช้ได้กับพรมเช่นกัน

3. ตรวจสอบและซ่อมแซมรอยร้าว รอยรั่ว หรือรอยขีดเขียนบริเวณกำแพง รวมถึงบริเวณที่มีความชื้นให้แห้งสะอาด

4. เปลี่ยนกระจกหน้าต่างที่แตกหรือร้าว

5. ตรวจสอบและซ่อมแซมท่อประปา และ ระบบสัญญาณเตือนภัยว่ายังอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่

6. ควรตรวจสอบก๊อกน้ำและฝักบัวในห้องน้ำรวมถึงสุขภัณฑ์ว่ายังใช้การได้ดีหรือไม่

7. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นห้องน้ำและห้องครัวไม่มีรอยชำรุดหรือคราบสกปรก

8. คุณควรขจัดแหล่งที่ส่งกลิ่นไม่ดี เช่น ที่ทิ้งเศษอาหารในครัว ที่เลี้ยงแมวหรือสุนัข

9. หมั่นตรวจสอบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟ และปลั๊กไฟยังทำงานอยู่ในสภาพดี

10. ดูแลห้องครัวให้สวยงาม อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

       นอกจากข้อแนะนำข้างต้นแล้วคุณอาจจะเพิ่มเติมบางสิ่งบางอย่างเพื่อทำให้บ้านของคุณดูเป็นที่ต้อนรับมากยิ่งขึ้นเช่น การใช้สเปรย์ที่มีกลิ่นหอม ก่อนถึงเวลาที่ผู้ซื้อมาเยี่ยมชมบ้าน นอกจากนี้คุณอาจจะเพิ่มดอกไม้ปักในแจกันสัก 2-3 แจกันวางไว้รอบๆบ้าน หรือบริเวณที่คุณจัดไว้รับแขก เพียงเท่านี้บ้านของคุณก็จะดูเป็นที่น่าต้อนรับและดูอบอุ่นสำหรับลูกค้า

 

แหล่งที่มา www.homedd.com

 
สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อที่ดิน article

 สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อที่ดิน

 

หากพูดถึงการสร้างบ้านเชื่อว่าคุณผู้อ่านคงจะนึกถึงตัวบ้าน สไตล์การออกแบบและการตกแต่ง รวมไปถึง ฟังก์ชั่นการใช้งาน แต่มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ ที่ดิน ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังมองหาที่ดินเพื่อที่จะสร้างบ้าน  นี่คือ 5 สิ่งที่คุณควรจะต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อที่ดิน

 

1. ที่ดินจะถูกเวนคืนหรือไม่

 

ก่อนจะซื้อที่ดิน หรือแม้กระทั่งซื้ออสังหาริมทรัพย์จากโครงการใด ๆ ก็ตาม ควรตรวจสอบเรื่องแนวเวนคืนที่ดินให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน ซึ่งในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลของแนวเวนคืนที่ดินเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย โดยตรวจสอบไปที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับการก่อสร้างสาธารณูปโภคและโครงข่ายคมนาคม อาทิ  กรมโยธาธิการ กรมทางหลวง การทางพิเศษ กรมการผังเมือง ฯลฯ

 

2. ประวัติของที่ดิน

 

ควรตรวจสอบประวัติของที่ดินเดิม เพื่อจะได้ทราบว่าเคยมีอะไรเกิดขึ้นกับที่ดินที่คุณกำลังจะสร้างบ้าน เพราะในการก่อสร้างบ้านนั้น สภาพของดินถือเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ที่ดินแถบจังหวัดชายทะเลที่มีลักษณะเป็นดินเลน หรือมีความชุ่มน้ำของเนื้อดินมากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลทำให้ดินทรุดได้ง่ายกว่าพื้นที่อื่น นอกจากนี้ ควรตรวจสอบด้วยว่าที่ดินเคยเป็นสระน้ำ หรือบ่อน้ำมาก่อนหรือไม่ เพราะหากเจ้าของที่ดินเดิม นำดินมาถมเพิ่ม อาจทำให้ดินไม่อัดแน่นพอ อีกจุดที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ ควรตรวจสอบว่าที่ดินบริเวณนั้นเคยมีน้ำท่วมหรือไม่ หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีน้ำท่วมเป็นประจำ แนะนำให้ถมที่ดินให้สูงขึ้น

  

3. ลักษณะของที่ดิน

 

ที่ดินที่ดีควรมีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเรขาคณิต เพราะจะทำให้การจัดวางตำแหน่งของบ้านนั้น เกิดประโยชน์ได้สูงสุด นอกจากนี้ ความกว้างของที่ดินด้านหน้าควรจะแคบกว่าความลึกของที่ดิน ข้อดี ของที่ดินลักษณะนี้ คือ สามารถแบ่งพื้นที่ (Zoning) ได้สะดวก เช่นพื้นที่รับแขกหรือที่จอดรถควร อยู่ด้านหน้า ส่วนพื้นที่ที่ต้องการความเงียบสงบ เช่นห้องนอน หรือห้องทำงานควรอยู่ด้านหลัง นอกเหนือไปจากรูปร่างของที่ดินแล้ว ลักษณะความสูงต่ำของที่ดิน ก็มีผลต่อการออกแบบบ้านเช่นกัน หากที่ดินที่จะซื้ออยู่ต่ำกว่าระดับถนน ประมาณ 0.50 – 1.00 เมตร เพื่อป้องกันน้ำท่วม ควรถมที่ดินให้สูงขึ้น หรืออาจขุดดินเพื่อทำห้องใต้ดินหรือสระว่ายน้ำ โดยสามารถนำดินนั้นมาถม เพื่อยกระดับดิน ให้สูงขึ้นก็ได้

 

4. ศักยภาพของที่ดิน

 

คงไม่มีบ้านใด หรือครอบครัวใดที่ใช้ชีวิตอยู่เพียงแต่ในบ้านได้ตลอดเวลา ดังนั้น ทำเลของที่ดิน ควรจะมีการเข้า-ออกที่สะดวก ทั้งในเรื่องของการเดินทางระหว่างการก่อสร้าง และในอนาคตหลังจากที่บ้าน สร้างเสร็จ โดยจะต้องตรวจสอบว่าเส้นทางเข้า-ออกนั้น เป็นถนนสาธารณะหรือไม่ เพราะอาจเกิดปัญหา ที่ตาบอดตามมาได้ ในการเลือกซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้าน ต้องพิจารณาเรื่องสภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนบ้าน โรงพยาบาล โรงเรียน วัดวาอาราม หรือแม้กระทั่งศูนย์การค้าก็นับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน นอกจากนี้ อีกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตอันมาจากการเลือกซื้อที่ดินก็คือ ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ รวมถึง เคเบิลดาวเทียม ควรตรวจสอบก่อนว่ามีครบถ้วนหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีก็จำเป็นต้องขอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อย อาจทำให้การก่อสร้างล่าช้าไปอีกก็เป็นได้ 

 

5. ฮวงจุ้ยกับที่ดิน

 

มีอยู่หลายข้อในเรื่องของที่ดินที่มีความเกี่ยวข้องกับฮวงจุย ในที่นี้ขอหยิบยก 2 ประเด็นสำคัญ นั่นคือ รูปทรงของที่ดินที่จะส่งผลต่อการอยู่อาศัยในทางฮวงจุ้ย ส่วนอีกเรื่องคือ ระดับของที่ดินหลังจากที่บ้านสร้างไปแล้ว

 1. รูปทรงของที่ดิน

ที่ดินรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
เป็นที่ดินที่มีลักษณะที่ดีที่สุดในทางฮวงจุ้ย แสดงถึงความมั่นคงปลอดภัยให้กับบ้านและผู้อยู่อาศัย
ที่ดินรูปทรงสามเหลี่ยม
แสดงถึงความไม่ปลอดภัย เพราะมุมแหลมของที่ดินเป็นพลังพิฆาตให้กับเจ้าของ วิธีการแก้ไขทำได้ โดยการปลูกต้นไม้ หรือก่อกำแพงในบริเวณมุมแหลมของที่ดิน เพื่อให้สภาพของมุมแหลมหมดไป
ที่ดินรูปทรงสามเหลี่ยมคางหมู
แม้จะมีลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ แต่ถ้ามีกระแสพลังซี่พุ่งเข้ามาในที่ดินรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ทางฮวงจุ้ยถือว่าดี
วิธีแก้ไขสามารถทำได้ เช่นเดียวกับที่ดินรูปสามเหลี่ยม
ที่ดินรูปทรงตัวแอล
ในทางฮวงจุ้ยถือว่าเป็นรูปทรงที่ไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลให้เจ้าของที่ดินมักประสบปัญหาอยู่เสมอ แต่แก้ไข ได้โดยให้เลือกวางตำแหน่งของบ้านที่ฐานตัวแอล

2. ระดับของที่ดิน   หลักการสร้างบ้านในทางฮวงจุ้ยได้กำหนดลักษณะของระดับพื้นที่ดินที่ไม่ดีไว้ ดังนี้

ที่ดินหน้าบ้านต่ำกว่าหลังบ้าน
ในทางฮวงจุ้ยเชื่อว่าพลังซี่ที่ไหลเข้ามาในบ้านจะไหลออกไปทางด้านหลัง ซึ่งถือว่าไม่เป็นมงคล จึงควรแก้ไขโดยปรับระดับให้ด้านหน้าบ้านสูงขึ้น หรืออาจใช้โคมไฟเพิ่มแสงสว่าง เพื่อลดความแตกต่างของระดับไม่ให้แตกต่างกันมาก
ที่ดินที่สร้างบ้านอยู่ต่ำกว่าระดับถนน
พื้นที่แบบนี้จะเป็นจุดรับสิ่งไม่ดีจากถนน ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควันหรือน้ำเสีย ซึ่งจะทำให้พลังที่ไม่ดีไหลเข้าบ้าน นำความอับโชคมาสู่บ้าน วิธีแก้ไขสามารถทำได้โดยถมที่ดินให้สูงเท่ากับระดับถนน แต่ถ้าทำไม่ได้ ให้ไล่ระดับเป็นขั้นบันได เพื่อลดความแตกต่างของระดับถนน และระดับที่ดินในบ้านให้มากที่สุด
ที่ดินเป็นแอ่งตรงกลาง
ที่ดินลักษณะนี้ในทางฮวงจุ้ยถือว่าไม่เป็นมงคล อาจบ่งบอกได้ว่าบ้านหลังนั้นมีสภาพเป็นอยู่ที่ไม่แน่นอน วิธีแก้ไขคือ ต้องปรับระดับให้เรียบเสมอกันจึงจะดีที่สุด

 

 

แหล่งที่มา  http://www.smallhouse.co.th

ทำไมต้องทำประกันภัยบ้าน article

 

 ทำไมต้องทำประกันภัยบ้าน

 

ปกติเมื่อเรากู้เงินซื้อบ้าน สิ่งที่ติดมากับสัญญากู้เงินก็คือ “การทำประกันภัย” แต่ที่ผ่านมาเจ้าของบ้านที่กู้ซื้อบ้านมักจะเข้าใจว่าประกันที่ทางธนาคาร หรือสถาบันการเงินบังคับให้คุณซื้อจะครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นภายในบ้านด้วย แต่ความเป็นจริงแล้ว ธนาคารหรือผู้ให้กู้ยืมเงินจะให้ความคุ้มครองเพียงตัวอาคารบ้านเรือนเท่านั้น สิ่งสำคัญคือคุณควรสำรวจความต้องการของตัวเองก่อนว่าอยากจะปกป้องทรัพย์สินประเภทใดบ้าง

 

การประกันภัยบ้าน เป็นอีกหนึ่งวิธีในการปกป้องหรือบรรเทาความเสียหายของทรัพย์สินที่คุณรักและสิ่งที่อยู่ภายในบ้านหากมีเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับบ้าน 

 

แม้ว่าบ้านจะเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูง แต่การประกันภัยบ้านกลับได้รับความนิยมต่ำเมื่อเทียบกับการประกันภัยรถ ทั้งๆ ที่บ้านคือการลงทุนครั้งสำคัญในชีวิต ค่าเบี้ยประกันภัยบ้านนั้นจัดได้ว่ามีราคาที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับความคุ้มครองที่จะได้รับ

 

การซื้อประกันภัยบ้านควรครอบคลุม 3 สิ่งต่อไปนี้

ตัวบ้านหรืออาคารที่พักอาศัย เป็นสิ่งที่ประกันภัยบ้านควรจะต้องมีให้ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุวินาศภัย หรือภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ หรือน้ำท่วม

ทรัพย์สินภายในบ้าน การประกันภัยบ้านสามารถที่จะช่วยป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ และเสื้อผ้า อย่างไรก็ตาม บริษัทประกันภัยหลายแห่งจะมีการจำกัดขอบเขตราคาและประเภทของทรัพย์สินที่จะรับประกัน

การประกันภัยบุคคลที่ 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองตัวคุณและคนในครอบครัว หรือหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากสิ่งของของคุณไปยังบุคคลอื่น

 

ประเด็นสำคัญสำหรับผู้ที่ทำประกันภัยบ้านคือ จะต้องรู้ว่าประกันภัยที่ซื้อมาให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง และไม่ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง เช่น หลายบริษัทจะไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินประเภท ธนบัตร อัญมณี แบบพิมพ์ เอกสารสำคัญ สมุดบัญชี ภาพเขียน ยานพาหนะ ต้นไม้ และการจัดแต่งสวน ดังนั้น ก่อนจะซื้อประกัน คุณต้องประเมินความต้องการของคุณและอ่านรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจซื้อ 

 

ในกรณีที่มีการต่อเติมบ้าน คุณควรต้องแจ้งบริษัทประกัน โดยเฉพาะหากคุณต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตกแต่งหรือต่อเติมเป็นจำนวนมาก เพราะถ้าหากมีความเสียหายเกิดขึ้น คุณสามารถได้รับค่าชดเชยที่ครอบคลุม ในกรณีที่มีการสูญเสียทรัพย์สินภายในบ้าน คุณอาจไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานยืนยันกับทางบริษัทประกัน เพียงแต่จะต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่ถูกทำลายหรือได้รับความเสียหายให้ได้มากที่สุด แต่เพื่อเป็นการป้องกันที่ดี สำหรับบ้านที่มีทรัพย์สินจำนวนมาก ควรบันทึกวีดีโอรายการทรัพย์สินไว้ และเก็บบิลของสิ่งมีค่าไว้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

 

 

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการประกันภัยบ้าน 

 

ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง โดยทั่วไปบริษัทประกันภัยจะรับประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่เป็นตึก หรือ ครึ่งตึกครึ่งไม้ เท่านั้น ส่วนสิ่งปลูกสร้างที่ เป็นไม้จะไม่รับประกันภัย

 

ทรัพย์สินบางประเภทไม่คุ้มครอง เช่น เงิน ธนบัตร ทองแท่ง อัญมณีมีค่า โบราณวัตถุ เอกสาร ภาพเขียน หลักทรัพย์ และแสตมป์ เป็นต้น

ความคุ้มครองการถูกโจรกรรม จะมีขอบเขตของวงเงินในการชดใช้ ทั้งเป็นต่อชิ้น เช่น ไม่เกิน 10,000 บาทและโดยรวมต่อครั้ง เช่น ทั้งหมดไม่เกิน 500,000 บาทต่อครั้ง

 

สถานที่ตั้ง อยู่ในเขตอันตราย หมายถึงเป็นเขตที่กรมการประกันภัยกำหนดว่าเป็นเขตที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ง่าย เช่น สถานที่ที่ใกล้แหล่งชุมชนแออัด ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้คุณต้องเสียเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นจากที่ระบุไว้ สำหรับลูกค้าทั่วไป อย่างไรก็ตาม เขตอันตรายดังกล่าวมีเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด ทั้งนี้ คุณสามารถตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ได้ว่าบ้านของคุณตั้งอยู่ในเขตอันตรายหรือไม่

 

ที่มา http://www.ddproperty.com

วิธีเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดบ้านมือสอง article

 บ้านมือสอง

 วิธีเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดบ้านมือสอง

 

     ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อบ้านควรศึกษาข้อมูล และรายละเอียดของสินค้าแต่ละแหล่งว่ ามีความน่าสนใจเพียงใด หนึ่งในหลายแหล่งที่ผู้ต้องการซื้อบ้าน สามารถศึกษาข้อมูลได้ นั่นคือ ตลาดบ้านมือสอง แหล่งรวมสินค้าประเภทบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม อาคารสำนักงาน เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ฯลฯ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกได้ถึง 3 ช่องทาง คือ การซื้อตรงจากผู้ขาย การซื้อผ่านโบรกเกอร์ และการซื้อผ่านตลาดการประมูล แต่ละแหล่งมีจุดดีและจุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป

            

     การซื้อตรงจากเจ้าของเดิม ที่ลงโฆษณาย่อยขายบ้านในหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารซื้อขายบ้านโดยเฉพาะ หรือโฆษณาย่อยผ่านเว็บไซต์ ที่ให้บริการอยู่ในตลาด ที่จัดทำเพื่อให้บริการทั้งจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ บริษัทขายบ้านมือสอง บริษัทจัดการประมูล นับเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดสำหรับประชาชนทั่วไป  โดยผู้ซื้อสามารถตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และเปรียบเทียบเกี่ยวกับรูปแบบบ้าน ประเภทของบ้าน ระดับราคา และทำเลที่น่าสนใจ

            

     ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดให้บริการ เว็บไซต์ www.GHBHomeCenter.com เพื่อให้ลูกค้า และประชาชนทั่วไป ฝากโฆษณาขายบ้านมือสอง ฟรี  โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย  ให้ผู้ต้องการเลือกซื้อบ้านมือสอง กับผู้ขายโดยตรง

            

     ข้อดีของการเลือกซื้อบ้านมือสอง  กับผู้ขายโดยตรง คือ สามารถต่อรองราคาลงได้ ในระดับที่เหมาะสม และเกิดความพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสที่ได้ราคาต่ำ  เนื่องจากไม่มีการบวกเพิ่มค่านายหน้า และค่าดำเนินการ แต่อาจเกิดปัญหายุ่งยากขึ้นได้ หากผู้ซื้อขาดความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์

            

     การเลือกซื้อบ้านกับผู้ให้บริการซื้อขายบ้านหรือ โบรกเกอร์รับฝากขายบ้าน มีข้อดีตรงที่มีจำนวนสินค้าให้เลือกเป็นจำนวนมาก ทำให้ได้ข้อมูลเพื่อการเปรียบเทียบราคาทำได้ง่าย พร้อมได้รับความสะดวกจากการให้บริการของตัวแทนขายบ้าน

            

     ข้อพึงระวังก่อนการเลือกใช้บริการตัวแทนซื้อขายบ้านคือ ความน่าเชื่อถือของตัวแทนแต่ละราย ชื่อเสียงและผลงานที่ผ่านมา และต้องยอมรับเรื่องราคาบ้านหรือค่าธรรมเนียมที่ต้องมีการบวกเพิ่มในส่วนของค่าบริการเข้าไป โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-5% และมีราคาขายบ้านต่ำกว่าราคาบ้านใหม่ในตลาดเฉลี่ย 4-45%

            

     การตัดสินเลือกซื้อผ่านตลาดการประมูล มีทั้งจากการบังคับจำนองขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี  และประมูลกับผู้จัดการประมูลเอกชน โดยบ้านมือสอง ที่อยู่ในตลาดการประมูลของกรมบับคับคดีส่วนใหญ่ จะเป็นบ้านหลุดดาวน์จากสถาบันการเงิน ข้อดีคือ ผู้ซื้อบ้านมือสอง ผ่านตลาดนี้มั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการด้านสินเชื่อจากธนาคาร และมีระดับราคาขายเฉลี่ยต่ำกว่าราคาบ้านใหม่ ที่ขายอยู่ในตลาด ประมาณ 30-60%  โดยทั่วไปแล้วการซื้อบ้านมือสอง จะมีระดับราคาที่ต่ำกว่าบ้านสร้างใหม่ ประมาณ 25% และมักจะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีกว่าบ้านสร้างใหม่

 

กู้ซื้อบ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง article

 กู้ซื้อบ้าน

อยากกู้ซื้อบ้าน เตรียมตัวอย่างไรดี

 

1. เตรียมเอกสารให้พร้อม

 

          สิ่งสำคัญในการกู้ซื้อบ้าน คือเรื่องของเอกสาร ที่ควรรอบคอบเป็นพิเศษ การเตรียมเอกสารเอาไว้แต่เนิ่น ๆ จะทำให้คุณได้เอกสารที่ครบถ้วน ไม่ตกหล่น อีกทั้งยังเหลือเวลาให้จัดการหาเอกสารที่ขาดอยู่เพิ่มเติมได้ เอกสารกู้ซื้อบ้านจึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกที่ต้องเตรียมตัวให้ดีเป็นพิเศษ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมนั้นอาจจะมีข้อแม้แตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคารกำหนด โดยหลัก ๆ มีดังนี้ ..

 

          เอกสารกู้ซื้อบ้าน

 

ผู้มีรายได้ประจำ

 

     1. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาบัตรข้าราชการ

     2. สำเนาทะเบียนบ้าน

     3. สลิปเงินเดือน (ย้อนหลัง 6 เดือน)

     4. หนังสือรับรองเงินเดือน

     5. รายการบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (Statement)

     6. ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)

     7. ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)

     8. ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)

 

*หมายเหตุ : อาจมีเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร

 

ผู้มีกิจการส่วนตัว และ ผู้มีรายได้อิสระ

 

     1. สำเนาบัตรประชาชน

     2. สำเนาทะเบียนบ้าน

     3. รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน (Statement) ทั้งบัญชีส่วนตัว และ บัญชีกิจการ

     4. สำเนาทะเบียนการค้า หรือ สำเนาการจดทะเบียนบริษัท

     5. หลักฐานแสดงการเสียภาษี

     6. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ถ้ามี)

     7. ภาพถ่ายหน้าร้าน หรือ กิจการที่ประกอบอาชีพ

     8. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (แพทย์, วิศวกร, สถาปนิก, ทนายความ)

     9. ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)

    10. ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)

    11. ทะเบียนหย่า (ถ้ามี)

 

*หมายเหตุ : อาจมีเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร

 

เอกสารหลักทรัพย์ค้ำประกัน

 

1. สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ สำเนากรรมสิทธิ์ห้องชุด

2. สำเนาเอกสารสัญญาซื้อขาย

3. เอกสารหลักฐานการชำระเงินดาวน์

4. แผนที่โดยสังเขปของที่ตั้งหลักทรัพย์ค้ำประกัน

 

*หมายเหตุ : อาจมีเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร

 

 

 2. ศึกษารายละเอียดของแต่ละธนาคาร

 

          นอกจากจะเตรียมเอกสารให้พร้อมแล้ว ขั้นตอนต่อไปควรศึกษารายละเอียดในการขอสินเชื่อจากแต่ละธนาคารให้ดี เพื่อให้การตัดสินใจขอกู้ซื้อบ้านของคุณตรงตามความต้องการมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของการคิดดอกเบี้ย ที่แน่นอนว่าแต่ละธนาคารย่อมมีข้อเสนอที่แตกต่างกันออกไป ลองทำความเข้าใจและเลือกธนาคารที่มีข้อเสนอเหมาะกับคุณ เพื่อให้คุณวางแผนการใช้จ่ายและการชำระหนี้ได้แบบไม่สะดุด ซึ่งข้อเสนอของแต่ละธนาคารจะเป็นอย่างไร กระปุกดอทคอมรวบรวมเอาไว้ให้คุณได้ศึกษาแล้วจ้า ..

 

 

 

3. ปรับบัญชีให้สมดุล

 

          รายรับรายจ่ายของคุณคืออีกหนึ่งปัจจัยหลักที่มีผลกับการพิจารณาขอสินเชื่อโดยตรง ดังนั้นการเตรียมบัญชีให้พร้อมอย่างน้อย 6 เดือน ก็จะช่วยทำให้มีโอกาสในการขอสินเชื่อผ่านมากขึ้น ซึ่งการเตรียมบัญชีนั้นไม่ใช่เพียงการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ แต่หมายถึงการควบคุมรายรับรายจ่ายของคุณให้สมดุลกัน เพื่อแสดงให้ธนาคารทราบว่าคุณมีศักยภาพมากพอที่จะชำระหนี้ได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างวินัยในการใช้เงินของคุณให้พร้อมสำหรับในอีกหลายปีข้างหน้า ที่จะต้องผ่อนชำระในระยะยาว

 

 4. ผ่อนหนี้ให้ตรง เคลียร์หนี้เก่า

 

          หากเคยมียอดหนี้เก่าที่รอการชำระ หรือกำลังผ่อนชำระหนี้ก้อนหนึ่งอยู่ การผ่อนชำระหนี้ให้ตรงตามกำหนด ถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่ธนาคารจะนำมาพิจารณาในการอนุมัติเงินกู้ซื้อบ้านของคุณ เพราะการมีวินัยในการผ่อนชำระจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคุณว่าจะสามารถผ่อนชำระเงินกู้ที่ธนาคารอนุมัติได้ตรงตามกำหนด และหากมียอดหนี้เก่าที่เป็นจำนวนเงินไม่เยอะมากนัก ให้รีบปิดหนี้ให้หมดเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อรวมให้ภาระหนี้สินของคุณมีน้อยที่สุด โดยเฉพาะคนที่ค้างจ่ายหนี้ไปนานจนมีรายละเอียดบอกไว้ในเครดิตบูโร หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ติดแบล็คลิสต์ หากมีการชำระหนี้ไปเสียแต่เนิ่น ๆ ยอดหนี้ของคุณจะถูกปรับออก ทำให้มีโอกาสขอกู้ผ่านมากขึ้น

 

 

5. เก็บเงินสำรอง

 

          ในการซื้อบ้านมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ทำให้คุณต้องเสียรายจ่ายอยู่บ่อย ๆ การเก็บออมเงินเอาไว้สักก้อนเพื่อใช้เป็นค่าดำเนินการ ก็จะทำให้อุ่นใจมากกว่า เพราะรายละเอียดค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มตั้งแต่ เงินดาวน์บ้าน, ค่าประเมิน, ค่าดำเนินการ, ค่าประกันภัย, ค่าโอน เป็นต้น หากไม่วางแผนเก็บเงินก้อนหนึ่งไว้สำรองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจจะทำให้ติดขัดถึงขั้นพลาดบ้านหลังที่ใข่ของคุณไปเลยก็ได้

 

          สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลเพื่อเตรียมตัวกู้ซื้อบ้านสักหลัง เมื่อทราบวิธีการเตรียมตัวข้อมูลคร่าว ๆ กันไปแล้ว ก็อย่าลืมวางแผนให้รอบคอบและลองทำตามวิธีการเหล่านี้ดูนะคะ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ให้การกู้ซื้อบ้านของคุณมีโอกาสผ่านฉลุยมากขึ้น ขอแสดงความยินดีล่วงหน้ากับบ้านหลังใหม่ด้วยค่ะ

 

    แหล่งที่มา  http://www.kapook.com

 
หน้า 1/1
1
[Go to top]



Copyright © www.bhomesproperty.com 2013 All Rights Reserved.