ReadyPlanet.com


วิธีแก้ปวดฟัน
avatar
อิมจู ยองฮี


 วิธีแก้ปวดฟัน

การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการปวดฟันว่ามาจากสาเหตุใด ดังนี้
การระงับอาการปวดฟันชั่วคราวมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น
การทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดฟัน เป็นวิธีแรก ๆ ที่ควรทำก่อนจะใช้วิธีบรรเทาอาการปวดอื่น ๆ โดยควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันทั้งสองด้านในบริเวณที่มีอาการปวดอย่างระมัดระวัง จากนั้นให้บ้วนปากและกลั้วปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้เศษอาหารหลุดออก เสร็จแล้วจึงบ้วนน้ำทิ้ง
งดสิ่งกระตุ้นที่มีผลทำให้ปวดฟันหรือทำให้ประสาทฟันบาดเจ็บมากขึ้น เช่น การรับประทานของเย็นจัด (น้ำแข็ง ไอศกรีม), การรับประทานของร้อนจัด (น้ำร้อน ชาร้อน กาแฟร้อน อาหารร้อน ๆ), การรับประทานอาหารที่มีรสหวานจัดหรือเปรี้ยวจัด เป็นต้น
หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกบริเวณที่มีอาการปวดฟัน จนกว่าอาการปวดฟันอีกด้านจะหายไป เพราะอาการปวดฟันจะเป็นมากขึ้น ถ้าฟันซี่นั้น ๆ ถูกกระแทกบ่อย ๆ วิธีการง่าย ๆ ก็คือ การรับประทานอาหารที่ไม่ต้องใช้แรงเคี้ยว เช่น อาหารนิ่ม ๆ ไม่ควรเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ หรือเหนียว ๆ ที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยวมาก หรือให้เลี่ยงไปเคี้ยวอาหารอีกด้านหนึ่งของช่องปากแทน
บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เป็นวิธีที่ช่วยกำจัดแบคทีเรียและบรรเทาอาการปวดได้ (เกลือไม่ได้มีฤทธิ์ในการรักษาแต่จะช่วยกำจัดแบคทีเรียและทำให้เหงือกที่บวมรอบ ๆ ฟันซี่ที่ปวดชุ่มชื้นขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้) โดยให้ผสมเกลือ 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร) กับน้ำอุ่น 250 มิลลิลิตร ใช้อมกลั้วปากประมาณ 30 วินาทีแล้วบ้วนออก (สามารถทำซ้ำได้ตามความต้องการ)
บ้วนปากด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์  ที่มีความเข้มข้น 3% สักพัก ซึ่งจะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการฟันผุได้
การรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol), แอสไพริน (Aspirin) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อช่วยลดอาการปวดจนกว่าจะไปพบทันตแพทย์ได้ ซึ่งโดยปกติจะรับประทานยาแก้ปวดครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง (ควรอ่านวิธีใช้ยาจากฉลากเพื่อรับประทานยาในปริมาณที่เหมาะสม) สำหรับยาแอสไพรินชนิดผงหรือเม็ดหรือยาแก้ปวดชนิดอื่น ๆ อย่าใส่ลงไปในรูฟันผุหรือบริเวณที่ปวดโดยตรง เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการปวดฟันแล้วความเป็นกรดอาจทำให้แก้มและเหงือกบริเวณใกล้เคียงเป็นแผลได้ด้วย
ยาบรรเทาอาการปวดเฉพาะที่ ซึ่งเป็นยาทาที่ใช้เฉพาะที่บนฟันหรือเหงือกที่มีอาการปวด โดยตัวยาที่สำคัญคือ เบนโซเคน (Benzocaine) ซึ่งเป็นยาชาเฉพาะที่ ใช้ลดอาการเจ็บปวดอย่างเช่น ปวดจากแผลในปาก บรรเทาอาการปวดฟัน ปวดเหงือก แต่ยานี้ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี และไม่ควรใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำบนฉลาก
การประคบเย็น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ โดยเป็นการใช้ความเย็นเพื่อทำให้บริเวณที่ประคบเกิดอาการชา (อุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะลดปริมาณเลือดที่ไหลออกมา เมื่อไหลน้อยลงอาการปวดบริเวณนั้นก็น้อยลงด้วยเช่นกัน) ส่วนวิธีการก็คือให้ใช้น้ำแข็งก้อนห่อด้วยผ้าบาง ๆ แล้วนำมาประคบบริเวณกรามข้างที่มีอาการปวดฟันประมาณ 10-15 นาที แล้วหยุดพัก จากนั้นให้ประคบต่อตามความจำเป็น โดยให้ตรวจดูว่าบริเวณที่ปวดหายเป็นปกติหรือยังก่อนที่จะประคบอีกครั้ง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นได้
การประคบร้อน ถ้ามีฟันผุทะลุถึงโพรงประสาทฟันและเป็นหนองปลายรากฟัน และมีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัด การใช้ความร้อนประคบบริเวณที่บวมจากภายนอกช่องปากนอกจากจะช่วยลดอาการปวดฟันได้ดีแล้ว ยังช่วยระบายหนองได้ดีขึ้นอีกด้วย
สนับสนุนบทความโดย  psthai888
เว็บ สล็อตออนไลน์ ที่ดีที่สุด
การกดจุดแก้ปวดฟัน เป็นวิธีที่ช่วยระงับอาการปวดฟันได้ชั่วคราวเหมือนการรับประทานยาแก้ปวด (ดูได้ในหัวข้อด้านล่าง)
อุดฟันชั่วคราว คุณอาจลองอุดโพรงหรือช่องในฟันที่ทำให้เกิดอาการปวดได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้หมากฝรั่งหรือขี้ผึ้งสำหรับฟันจนกว่าจะไปพบทันตแพทย์ หรือตามร้านขายยาก็มีชุดอุดฟันชั่วคราวขาย (ทำมาจากซิงค์ออกไซด์หรือส่วนประกอบที่คล้ายกัน) ซึ่งมันจะช่วยลดแรงกดที่กระทบฟันและอยู่ได้นานถึง 2 สัปดาห์
แอลกอฮอล์ ให้ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์แรง ๆ อย่างวอดก้า บรั่นดี วิสกี้ และเหล้ายิน ซึ่งจะมีฤทธิ์ทำให้บริเวณที่ถูกสัมผัสชาและช่วยบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว ส่วนวิธีการใช้ให้จุ่มสำลีสะอาดในเครื่องดื่มแล้วนำไปประคบกับฟันบริเวณที่ปวด หรืออาจจิบวิสกี้เพียงเล็กน้อยและอมเครื่องดื่มไว้ในข้างแก้มที่มีอาการปวด
ใช้ถุงชาประคบบริเวณที่ปวด เช่น ชาดำที่มีสารแทนนินที่ช่วยลดอาการบวม หรือชาสมุนไพรเปปเปอร์มินต์ที่มีฤทธิ์อ่อนๆ ทำให้รู้สึกชาและบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน ส่วนวิธีการใช้ให้นำถุงชาไปอุ่นในไมโครเวฟ โดยใส่ไว้ในถ้วยที่มีน้ำประมาณ 30 วินาที เพื่ออุ่นถุงชา จากนั้นบีบน้ำที่ชุ่มออก แล้ววางถุงชาบนบริเวณที่มีอาการปวดฟันหรือเหงือกและกัดเบา ๆ จนกว่าอาการปวดจะทุเลาลงไป
ทิงเจอร์มดยอบ (Myrrh) มดยอบเป็นยางไม้ที่ออกมาจากต้นไม้มีหนามบางชนิดและใช้เป็นส่วนผสมในการทำของบางอย่าง เช่น กำยาน น้ำหอม และยา ซึ่งมีฤทธิ์ในการสมานแผล ลดอาการบวม และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงมีการใช้ทิงเจอร์มดยอบบรรเทาอาการปวดฟันมานานแล้ว โดยวิธีการใช้ให้ต้มผงมดยอบ 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร) กับน้ำ 2 ถ้วย (500 มิลลิลิตร) ในหม้อใบเล็กประมาณ 30 นาที แล้วกรองเอาแต่น้ำปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นให้ผสมน้ำที่ได้ 1 ช้อนชา กับน้ำครึ่งถ้วย (125 มิลลิลิตร) แล้วนำมาบ้วนปากวันละ 5-6 ครั้ง
ยาทาหยางเหมย (Bayberry) เปลือกรากหยางเหมยเชื่อว่าเป็นยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติ และมีสารแทนนินกับฟลาโวนอยด์ เมื่อนำหยางเหมย (บด) มาผสมกับน้ำส้มสายชูจนเป็นเนื้อครีมแล้วนำมาทาจะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันและสร้างความแข็งแรงให้เหงือกได้ ส่วนวิธีการทำยานั้นให้นำเปลือกหยางเหมยมาบดให้ได้ปริมาณที่หนาจากก้นภาชนะประมาณ 1 นิ้ว แล้วนำไปผสมกับน้ำส้มสายชู 1/4 ช้อนชา (1.25 มิลลิลิตร) เพื่อให้ได้เป็นเนื้อครีมเหนียว เสร็จแล้วจึงให้นำไปทาบริเวณที่ปวดในช่องปากโดยตรงและทิ้งไว้จนกว่าอาการปวดจะลดลง แล้วบ้วนปากด้วยน้ำอุ่น
กานพลู เป็นสมุนไพรแก้ปวดฟันที่นิยมใช้มาตั้งแต่อดีต เพราะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการชาและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สำหรับกานพลูทั้งดอก ให้นำมาเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟัน หรือจะนำดอกมาตำให้พอแหลกผสมกับเหล้าขาวเล็กน้อยพอแฉะ แล้วใช้สำลีชุบจิ้มหรืออุดฟันที่ปวด ส่วนน้ำมันดอกกานพลู ให้ใช้ประมาณ 4-5 หยด แล้วใช้สำลีพันไม้จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด ซึ่งจะช่วยทำให้อาการปวดทุเลาลงได้
ข่อย ให้ใช้กิ่งสด 5-6 นิ้วฟุต นำมาหั่นต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวด เหลือน้ำครึ่งเดียว ใช้อมเช้าและเย็น จะช่วยทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน
ดาวเรือง  ใช้ช่อดอกแห้ง 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน
ผักชี  ให้ใช้เมล็ดนำมาต้มกับน้ำ ใช้อมบ้วนปากบ่อย ๆ เป็นยาแก้ปวดฟัน ปากเจ็บ
ผักคราดหัวแหวน ต้นสดใช้ตำพอกหรือเอาน้ำทาถู โดยใช้ต้นสด 1 ต้น นำมาตำให้ละเอียด เติมเกลือ 10 เม็ด คั้นเอาน้ำ ใช้สำลีพันไม้ชุบน้ำยาจิ้มลงในซอกฟัน จะช่วยทำให้หายปวดฟันได้
หัวหอม เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียและช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้ชั่วคราว โดยให้นำหัวหอมมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแปะไว้ที่ฟันตรงซี่ที่มีอาการปวด
สมุนไพรแก้ปวดฟันอื่น ๆ เช่น กุยช่าย (นำเมล็ดมาคั่วให้เกรียมดำ บดให้ละเอียด ละลายน้ำมันยางแล้วชุบสำลียัดในฟันที่เป็นรูโพรงทิ้งไว้ 1 คืน), ผักบุ้งนา (ใช้รากสด 10 กรัม ตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำส้มสายชู ใช้อมประมาณ 5 นาที แล้วบ้วนออกด้วยน้ำสะอาด), มะระ (รากสดมาตำให้แหลก ใช้พอกฟันซี่ที่ปวด), ว่านหางจระเข้ (หั่นว่านเป็นชิ้น ๆ ความยาว 2-3 เซนติเมตร ใช้เหน็บไว้ที่ซอกฟัน แล้วใช้ฟันขบให้อยู่บริเวณที่มีอาการปวด), น้ำมันกระเทียม (ใช้สำลีชุบแล้วนำมาทาบริเวณที่มีอาการปวดฟัน), ใบชา (นำใบชาแห้งไปแช่ในน้ำร้อน 20 นาที แล้วรอจนกว่าน้ำชาจะอุ่น จากนั้นให้นำมาบ้วนปากบ่อย ๆ แล้วบ้วนด้วยน้ำสะอาดตาม จะช่วยลดอาการปวดฟันได้), มะอึก, ลำโพงดอกขาว ฯลฯ
 


ผู้ตั้งกระทู้ อิมจู ยองฮี (yxngximcu-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2020-06-24 11:35:14 IP : 183.88.75.67


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © www.bhomesproperty.com 2013 All Rights Reserved.