ReadyPlanet.com


แนะวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ พร้อมบอกต่อ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่ไม่ควรพลาด
avatar
nemophilanie


 

การ ปฐมพยาบาล เบื้องต้น (First Aid) เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุเบื้องต้นเพื่อบรรเทาความรุนแรงหรือบรรเทาความเจ็บปวดก่อนผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เรามาเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉิน เพราะการปฐมพยาบาลที่ไม่ถูกต้องอาจทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมีอาการหนักกว่าเดิม ทำให้เมื่อได้รับการรักษาจากแพทย์ยากลำบากกว่าเดิม

 

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อย และวิธี การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1.      แผลฟกช้ำจากการถูกชน กระแทก หนีบ ทับ ต่อย แผลฟกช้ำไม่มีบาดแผลฉีกขาดหรือเลือดออก แต่มีการฉีกของกล้ามเนื้อและเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง เลือดจะออกใต้ผิวหนัง มีรอยช้ำบวม และสีผิวเปลี่ยนบริเวณที่เป็นแผล การปฐมพยาบาลใน 48 ชั่วโมงแรก ให้ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็น ครั้งละ 15 – 30 นาที วันละ 2 - 3 ครั้ง เพื่อให้เลือดใต้ผิวหนังบริเวณนั้นออกน้อยลง หลังจาก 48 ชั่วโมง เปลี่ยนมาประคบร้อน ครั้งละ 15 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง แผลฟกช้ำจะดีขึ้นและค่อย ๆ หายเองภายใน 10 – 14 วัน แต่ถ้ายังไม่หายหรือมีรอยฟกช้ำมากควรไปพบแพทย์เพื่อนำเลือดใต้ผิวหนังออก

2.      แผลถลอก เป็นแผลที่เกิดจากการเสียดสีของผิวหนังกับพื้นหรือวัสดุแข็งมีผิวหยาบ ทำให้ผิวชั้นนอกถูกทำลายเป็นรอยถลอกและอาจมีเลือดออก แผลถลอกในเด็กอาจเกิดจากการเล่นซน วัยทำงานอาจจะเกิดได้จากการเดินทาง เป็นแผลรถล้ม ในผู้สูงอายุอาจเกิดจากการหกล้มเพราะ โรคบ้านหมุน  แผลถลอกควรรีบทำความสะอาดแผลทันทีเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่แผลจากสิ่งสกปรกติดอยู่ตามรอยแผล เริ่มจากการล้างมือให้สะอาด ล้างแผลด้วยการเทน้ำให้ไหลผ่านแผล ฟอกสบู่บริเวณที่เป็นแผลเพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกมา แล้วใช้สำลีชุบยาใส่แผลสดทาลงบนแผล ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ปิดแผล แผลถลอกสามารถหายเองได้ แต่หากแผลมีเลือดไหลไม่หยุด มีความผิดปกติหรือบวมมากควรรีบไปพบแพทย์

3.      การถูกไฟดูด ไฟดูดมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า เช่น เด็กเล่นซนโดยเอาตะปูไปแหย่ช่องปลั๊กไฟ หรือการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดและไฟรั่ว การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับ อันตรายการไฟฟ้า อันดับแรกคือปลดสวิตช์จ่ายไฟ นำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บออกห่างจากที่เกิดเหตุด้วยเชือกหรือไม้แห้ง เขย่าตัวผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อดูว่ายังมีสติอยู่หรือไม่ จากนั้นให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บนอนราบบนพื้นแข็ง ถ้าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก หรือหัวใจหยุดเต้น ต้องปฐมพยาบาลด้วยการกดนวดหัวใจหรือที่เรียกว่าทำ CPR โดยผู้ปฐมพยาบาลนั่งคุกเข่าอยู่ทางด้านข้างของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ วางส้นมือลงไปขนานกับแนวกึ่งกลางหน้าอก แล้วนำมืออีกข้างมาประกบ กระดกข้อมือขึ้น โดยให้ส้นมือสัมผัสกับหน้าอกเท่านั้น โน้มตัวมาให้แนวแขนตั้งฉากกับหน้าอกของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แขนตรงและตึง ออกแรงกดลงไปด้วยการใช้แรงจากหัวไหล่ กดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ต้องปล่อยให้อกคืนตัวจนสุดแล้วค่อยกดครั้งต่อไปด้วยความเร็วอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที และทำจนกว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจะถึงมือแพทย์

 

            ถึงแม้จะปฐมพยาบาลแล้วแต่ถ้ารู้สึกว่ามีอาการรุนแรงก็จำเป็นต้องนำส่งโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้รักษาเพื่อความปลอดภัย การมี ประกันอุบัติเหตุ ช่วยให้อุ่นใจว่าจะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็วจากโรงพยาบาลเอกชน ประกันอุบัติเหตุ หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ ประกัน pa ที่ย่อมาจาก Personal Accident Insurance เป็นการประกันภัยเฉพาะตัวบุคคลที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล หรือ ประกัน pa บางแห่ง เช่น SCB PRPTECT จะมีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยและมีเงินชดเชยรายได้ให้ด้วย อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มาสร้างความอุ่นใจด้วย ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล SCB PROTECT ที่คุ้มครองผู้เอาประกันได้ครบจบในประกันเดียว

 

 

 


ผู้ตั้งกระทู้ nemophilanie :: วันที่ลงประกาศ 2022-09-13 23:33:46 IP : 124.120.77.203


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © www.bhomesproperty.com 2013 All Rights Reserved.